Health

  • ปวดหัว หรือ โรคปวดศีรษะ
    ปวดหัว หรือ โรคปวดศีรษะ

    ปวดหัว หรือโรคปวดศีรษะ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอันตรายแก่ร่างกาย อาจจะรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปก็ทุเลาหายได้เอง

    ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะที่พบได้บ่อย คือปวดหัว หรือ ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวรอบศีรษะ (Tension Headache)ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะจากการขยายตัวของหลอดเลือดในศีรษะ (โรคไมเกรน) ( Migraine Headache)โรคอื่นๆ ที่พบได้แต่ไม่บ่อย ได้แก่ ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะจากสิ่งผิดปกติในสมอง

    อาการปวดหัว

    ปวดหัว หรือโรคปวดศีรษะ เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักจะไม่มีอันตรายแก่ร่างกาย อาจจะรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปก็ทุเลาหายได้เอง ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะที่พบได้บ่อย คือ

    ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวรอบศีรษะ (Tension Headache)
    ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะจากการขยายตัวของหลอดเลือดในศีรษะ (โรคไมเกรน) ( Migraine Headache)
    โรคอื่นๆ ที่พบได้แต่ไม่บ่อย ได้แก่ ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะจากสิ่งผิดปกติในสมอง

    ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวรอบศีรษะ (Tension Headache )
    เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อดนอน เครียด ใช้สมองหรือสายตาเป็นเวลานานๆ การปวดมีลักษณะตึงๆ ตื้อๆบางคนอาจปวดจี๊ดๆ ร่วมด้วย มักปวดที่ขมับหน้าผากหรือรอบศีรษะ (ข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้) อาการปวดมักจะเริ่มตอนสายๆ หรือบ่าย หรือ เมื่อเริ่มเคร่งเครียดกับงานนานๆ แล้วมักจะปวดต่อไปทั้งวัน อาจไม่รุนแรงแต่พอรำคาญ

    ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะไมเกรน ( Migraine Headache )
    อาจจะปวดซีกใดซีกหนึ่งหรือปวดทั่วๆ ศีรษะก็ได้ อาจจะมีตาพร่ามัวก่อนจะปวดศีรษะ อาจจะมีคลื่นไส้อาเจียน ขณะที่ปวดจะไม่ชอบแสงไฟจ้าๆ และไม่ชอบเสียงดังๆ มักจะปวดช่วงมีรอบเดือน หรืออากาศร้อนๆ

    ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะจากสิ่งผิดปกติในสมอง
    ได้แก่ เนื้องอก พยาธิ ฝีหนอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อโรค เส้นเลือดสมองแตก เลือดออกในสมอง ความดันในสมองสูงฯลฯ มักมีลักษณะการปวดที่หลากหลายขึ้นกับความรุนแรงของโรค ขนาดของรอยโรค ตำแหน่งของสมองที่เกิดโรค อาการโดยรวมๆ คือ

    มักปวดมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปเป็นวัน สัปดาห์ หรือเดือน (ขึ้นกับชนิดของโรค)
    อาจจะมีอาการอาเจียนพุ่ง
    มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ชัก มีไข้ มองเห็นภาพซ้อน สับสน แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง ซึมลง จนถึงหมดสติ และเสียชีวิตได้

    การวินิจฉัยสาเหตุของการ ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะ
    จำเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์ต้องอาศัยการซักประวัติโดยละเอียดว่า ปวดลักษณะแบบใด ปวดรุนแรงเพียงใด ปวดถี่บ่อยแค่ไหน และมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่

    ลักษณะการ ปวดหัว หรือ ปวดศีรษะ ที่ต้องให้ความสำคัญ และควรรีบไปพบแพทย์ ได้แก่
    ปวดรุนแรงเฉียบพลัน ทันทีทันใด
    ปวดรุนแรงมากจนทำงานไม่ได้
    ปวดในลักษณะที่ไม่เหมือนที่เคยปวดแบบนี้มาก่อน (ปวดแบบใหม่)
    อาการค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป (อาจเป็นวัน เดือนจนถึงเป็นปีก็ได้)
    มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้สูง ชัก มองเห็นภาพซ้อน อาเจียนรุนแรง แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ uruguay-portal.com

Economy

  • ศาลอาญาคดีทุจริตยกฟ้องแก้สัญญาดิวตี้ฟรี
    ศาลอาญาคดีทุจริตยกฟ้องแก้สัญญาดิวตี้ฟรี

    ศาลอาญาคดีทุจริตยกฟ้องแก้สัญญาดิวตี้ฟรี

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ก.พ.2566 กรณีที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ผู้ถือหุ้นบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายประสงค์ พูนธเนศ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง อดีตประธานบอร์ด ทอท. กับพวกรวม 14 คน เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

    โจทก์ฟ้องว่า เดิมช่วงปี 2563 จำเลยทั้ง 14 ดำเนินการมีมติในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) แก้ไขสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทเอกชนรวม 5 สัญญา โดยมีมติอนุมัติ ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บเงินค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำของสัญญาอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี)

    โดยลดผลประโยชน์ที่ ทอท. จะได้รับจากสัญญาที่ทำไว้เดิม ทำให้ ทอท.รวมทั้งโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย จึงขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายอื่นๆ

    ศาลอาญาคดีทุจริตยกฟ้องแก้สัญญาดิวตี้ฟรี
    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    อย่างไรก็ตาม ศาลพิเคราะห์ว่า ข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวนไม่ปรากฏว่า พวกจำเลยมีพฤติการณ์กระทำผิดตามที่ถูกฟ้อง ทั้งข้อหาต่างๆที่ฟ้องเข้ามา “รัฐ” เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย แต่โจทก์เป็นเอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่ได้รับความเสียหายใดๆ และจำเลยก็ไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์

    นอกจากนี้แล้วในความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯที่โจทก์อ้างมานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยที่ยังไม่ได้ปฏิบัติไปตามเงื่อนไขที่ต้องทำ ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนนี้ด้วย ศาลจึงมีคำพิพากษายกฟ้อง จากนั้นจำเลยได้ขอคัดคำพิพากษาเพื่อเตรียมใช้สิทธิ์อุทธรณ์ต่อไป.

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ :